( ..สถานที่ท่องเทียวจ.พะเยา...)

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

อำเภอเชียงคำ


วัดพระนั่งดิน อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

ณ อุโบสถของวัดเล็กๆ ในอำเภอเชียงคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้ ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'

วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ จึง เรียกขานนามสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน หรือพระเจ้านั่งดิน
ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าขานสืบกันมาว่า ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและได้อันเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประดิษฐาน แต่เกิดเหตุอัศจรรย์ ฟ้าผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครั้ง ชาวบ้านจึงได้อาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิม

มีตำนานกล่าวถึงประวัติพระเจ้านั่งดินไว้ว่า พระยาครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์ จนเสด็จถึงเตเวียงพุทธรสะ(อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ(พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ที่เมืองพุทธรสะนี้ ครั้งเมื่อทรงตรัสจบก็ปรากฎมีพระอินทร์ 1 องค์ พระยานาค 1 ตน ฤษี 2 องค์ และพระอรหันต์ 4 รูป ช่วยกันเนรมิตรูปเหมือนจากดินศักดิ์สิทธิ์ ณ เมืองลังกา ใช้เวลา 1 เดือน กับ 7 วัน จึงแล้วเสร็จ เมื่อพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว ได้เสด็จสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนนั้นมีขนาดเล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริม แล้วพระพุทธเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปเหมือนนั้นให้เลื่อนลงจากฐานชุกชี มากราบไหว้พระองค์ พระพุทธเจ้าตรัสกับรูปเหมือนว่า "ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา" รูปเหมือนน้อมรับ และประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา


ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้าเหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: