( ..สถานที่ท่องเทียวจ.พะเยา...)

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาจังหวัดพะเยา ถิ่นฟ้าล้านนาตะวันออก



ประวัติเมืองพะเยา

พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อว่า"เมืองภูกามยาวหรือพยาว"เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา
ดังนี้พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงินกษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนได้ให้ขุนจอมธรรมโอรสองค์ท ี่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ขุนจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวได ้๒๔ ปี ก็สิ้นพระชนม์ขุนเจื่องโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทนใน ขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมือง
นครเงินยาง ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือญวนได้สำเร็จ ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนักจึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำ สอนให้และสละราชสมบัติ
ให้แก่ขุนเจื่องเมื่อขุนเจื่องได้ครองเมืองเงินยางแล้วจึงให้โอรสชื่อว่า"ลาวเงินเรือง"ขึ้นครองเมืองพะเยาแทนท้าวลาวเงินเรืองครองเมืองพะเยาได้๑๗ปีก็สิ้นพระชนม ์
ขุนแดงโอรสครองราชย์ต่อมาเป็นเวลา๗ ปีขุนชองซึ่งเป็นน้าก็แย่งราชสมบัติและได้ครองเมืองพะเยาประมาณ ๒๐ปีและมีผู้ครองราชย์สืบต่อมาจนถึงพระยางำเมือง
กษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่๙ซึ่งเป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษาพระบิดาส่งไปศึกษาที่สำนักสุกันตฤาษีเมืองลพบุรี จึงได้รู้จักกับพระร่วง
แห่งกรุงสุโขทัยโดยได้ศึกษาศิลปศาสตร์จากอาจารย์เดียวกันและทรงเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยาปีพุทธศักราช ๑๓๑๐ พ่อขุนมิ่ง
เมืองพระราชบิดา สิ้นพระชนม์จึงได้ขึ้นครองราชย์แทน ต่อมาพ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพมาประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองสั่งให้ไพร่พลอยู่ในความสงบและได้ให้
เสนาอำมาต ์ ออกต้อนรับโดยดีพระองค์ได้ยกเมืองชายแดนบางเมืองให้แก่พ่อขุนเม็งรายเพื่อเป็นการสงบศึกและทั้งสองพระองค์ยังได้ทำสัญญาเป็นมิตรต่อกันตลอด
ไปพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายสนิทได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนพ่อขุนงำเมืองเป็นประจำทุกปีและได้มีโอกาสรู้จักพ่อขุนเม็งรายทั้งสามพระองค์ทรงเป็นพระสหายสนิทกันมาก
ถึงกับได้หันหลังพิงกันพร้อมกับทำสัจจปฏิญาณ แก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำกู(แม่น้ำอิง) ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กันจะเป็นมิตรสหายที่ดีต่อกันและได้กรีดโลหิตออกรวมกันในขัน
ผสมน้ำดื่มพร้อมกัน เมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๑๖ พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลงขุนคำแดงและขุนคำลือได้สืบราชสมบัติต่อมาตามลำดับ ในสมัยขุนคำลือนี้เองที่เมือง
พะเยาต้องเสียเอกราชไปพระยาคำฟู แห่งนครชัยบุรีศรีเชียงแสนได้ร่วมกับพระยากาวเมืองน่านยกทัพมาตีเมืองพะเยาพระยาคำฟูตีเมืองพะเยาได้ก่อนและได้เกิดขัด
ใจกับพระยากาวทำให้เกิดการสู้รบพระยาคำฟูเสียทีจึงยกทัพกลับเชียงแสน เมืองพะเยาจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมาพุทธศักราช ๒๓๘๖ พระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปางหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาอีกหลายท่านจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ยุบ
เลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยาต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พะเยาจึงได้รับการยกฐานะ
จากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา





อำเภอแม่ใจ


อุทยานแห่งชาติภูซาง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 178,049 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง เป็นต้น พื้นที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลาว น้ำเปื่อย น้ำบง และน้ำญวณ เพื่อใช้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย นอกจากธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริเวณอุทยานฯ ยังมีเต่าปูลู ซึ่งเป็นเต่าพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธ์ มีขนาดเล็ก ตัวเตี้ย หางยาว และด้วยเป็นเต่าพันธุ์หัวโต ขาทั้ง 4 ข้างและหางไม่สามารถหดเข้ากระดองได้ เวลามีศัตรูหรือภัยมา โดยเฉพาะเวลาเกิดไฟไหม้ป่าจะพบเต่าปูลูถูกไฟไหม้ตายเป็นประจำ เต่าปูลูจึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันไฟป่าของเมืองไทย เต่าปูลูเป็นเต่าที่ชอบอยู่ในป่าอุดมสมบูรณ์บนภูเขาสูงใกล้น้ำตกหรือลำห้วยที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลา สามารถชมเต่าพันธุ์นี้ได้ในเวลากลางคืนขณะ กำลังออกหากิน อุทยานมีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่

น้ำตกภูซาง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำตลอดปี สูง 25 เมตร เป็นน้ำตกที่เป็นน้ำอุ่น ๓๓ องศาเซลเซียส น้ำใส ไม่มีกลิ่นของกำมะถัน น้ำตกนี้ตั้งอยู่ริมถนนอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน 300 เมตร ฝั่งตรงข้ามน้ำตกมีร้านสวัสดิการสามารถนั่งพักผ่อนและรับประทานอาหารได้
บ่อน้ำซับอุ่น เป็นบ่อซับอุ่นตามธรรมชาติอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกภูซาง ด้านบนของน้ำตกภูซางสภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบชื้นและป่าพรุที่สมบูรณ์

ถ้ำผาแดง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลึก 450 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม อยู่ห่างจากอุทยานฯ 48 กิโลเมตร การเดินเที่ยวชมถ้ำต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง และควรแจ้งล่วงหน้า
ถ้ำน้ำลอด เป็นถ้ำหินขนาดเล็กอยู่เชิงดอยผาแดง ห่างจากถ้ำผาแดงประมาณ 10เมตร ถ้ำลึก 250เมตร มีธารน้ำไหลผ่านตลอดทั้งถ้ำ ระดับน้ำลึก 50–100เซนติเมตร การเที่ยวชมภายในถ้ำต้องเดินลุยน้ำตลอด และต้องมีคนนำทาง

ดอยผาดำ เป็นภูเขาที่มีหน้าผาขนาดใหญ่เป็นปฎิมากรรมของธรรมชาติที่มีความสวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,096เมตร ดอยผาดำตั้งตระหง่านอยู่เหนือหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูซางที่ 1 (ผาแดง) อยู่ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากอุทยานฯ 47กิโลเมตร การเดินเที่ยวชมต้องใช้เวลา 3-4ชั่วโมง และควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง

ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลักษณะถ้ำกว้างแต่ไม่ลึก ประมาณ 200 เมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ 2 (ห้วยสา) ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ 500 เมตร และห่างจากที่ทำการอุทยาน 32 กิโลเมตร การเดินเข้าชมถ้ำต้องปีนเขาบ้างเล็กน้อย และควรมีเจ้าหน้าที่นำทางถ้ำน้ำดัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีน้ำตก ภายในมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เคยเป็นที่ซ่อนของ ผกค.

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานฯ มี 3 เส้นทาง ระยะทาง 1,400 เมตร (เส้นห้วยเมี่ยง ) ระยะทาง 1,700 เมตร (เส้นน้ำตกภูซาง) และระยะทาง 2,400 เมตร (เส้นห้วยสา) แต่ละเส้นทางใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง จะมีป้ายสื่อความหมายสามารถเดินเองได้

สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานมีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ และร้านค้าสวัสดิการบริการนักท่องเที่ยว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูซาง ตำบลภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา 56110 โทร. 0 5440 1099

การเดินทาง
รถยนต์ อุทยานฯ อยู่ห่างจากจังหวัดพะเยา 90 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายพะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เฃียงคำ และห่างจากอำเภอเชียงคำไปตามทางหลวงหมายเลข 1093 ประมาณ 20กิโลเมตร จากเชียงคำก่อนถึงโรงเรียนภูซางวิทยาคมเลี้ยวขวาเข้ามาผ่านที่ว่าการกิ่งอำเภอภูซาง หรือเดินทางจากจังหวัดเชียงราย-เทิง-เชียงคำ ระยะทาง 100 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข1021

รถประจำทาง นั่งรถสายพะเยา-อำเภอเชียงคำ หรือจากเชียงราย-อำเภอเชียงคำ แล้วต่อรถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสายเชียงคำ-บ้านฮวก รถจะผ่านที่ทำการอุทยานตามทางหลวงหมายเลข 1093 ประมาณ 20 กิโลเมตร

อำเภอปง


สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลง

ดอยภูลังกา ภาษาชาวเขาเผ่าเมี่ยน เรียกว่า "ฟินจาเบาะ" หมายความว่า "ภูเทวดา" เป็นยอดดอยที่สวยงามมีความสูง 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สูงที่สุดในเทือกเขาสันปันน้ำ ไทย-ลาว ด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 7,800 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลผ่าช้าง อ.ปง จ.พะเยา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากชมทะเลหมอกดวงอาทิตย์ขึ้นลง และดอกไม้ป่าสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีถ้ำหลบภัยของ ผกค.ในอดีต มีน้ำตกสวยงาม

นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้หายากเช่น ต้นชมพูภูพาน เนียมแดง เอื้องสีตาล เทียนธารา สัตฤาษี เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่ามีจำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่น เสือโคร่ง หมี กวาง เก้ง หมูป่า งูจงอาง ผีเสื้อ เป็นต้น สำหรับนกป่าประจำถิ่นและนกอพยพ ซึ่งสวยงามมีมากกว่า 200 ชนิด เช่น นกพญาไฟ นกเป้า เป็นต้น จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ลักษณะภูมิอากาศในช่วงฤดูหนาวอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 7 องศา สูงสุดเฉลี่ย 35 องศามีฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน

แหล่งท่องเที่ยว
ยอดดอยภูลังกา มีความสูงประมาณ 1,720 เมตร สามารถเฝ้าชมวิวทะเลเมฆและทะเลหมอก ดอกไม้ป่า ชมอาทิตย์ขึ้นลงท่ามกลางทะเลภูเขาสวยงามมาก นอกจากนี้ยังสามารถสัมผัสอากาศสดชื่นเย็นสบายตลอดปี

ยอดดอยภูนม มีความสูงประมาณ 1,600 เมตร สามารถชมวิวได้ 360 องศา นอกจากนี้สามารถใช้มุมมองในลักษณะรูปร่างจินตนาการได้ถึง 3 มิติ คือคล้ายกำแพงเมืองจีนคล้ายลิงกอริลล่าและคล้ายนมสาว

ทุ่งดอกโคลงเคลง ต้นเอนอ้า หรือบานอ้า ภาษาคำเมืองเรียก ต้นดอกข้าวจี่ ภาษาม้ง เรียกว่า จื๋อจั่วท้ง ภาษาเย้า เรียก ต้นกงุ้งซัง เป็นไม้พุ่มดอกสีม่วง มีลักาณะสวยงามออกดอกบานสะพรั่ง ในช่วงปลายฝนต้นหนาว และช่วงเทศกาลสงกรานตขึ้นรวมกันเป็นทุ่งกว้าง และกระจัดกระจายทั่วไปในวนอุทยานภูลังกา การใช้ประโยชน์ รากของต้นโคลงเคลงมีรสขม มีสรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงดี บำรุงตับและไต แก้อ่อนเพลีย

ข่าดอกสีแดง ออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเดือนกรกฎาคม โดยขึ้นกระจายทั่วไปบนดอยภูลังกาและดอยภูนม ลักษณะช่อดอกทรงกระบอกยาวประมาณ 30 ซม.

น้ำตกภูลังกา เป็นน้ำตกน้ำใสเย็นมี 2 ชั้น โดยชั้นที่ 1 มีความสูง 30 เมตร และชั้นที่ 2 สูง 20 เมตร มีความสวยงามในช่วงฤดูฝน

ลานหินล้านปี มีสภาพเป็นลานหินบนสันดอยภูลังกา มีมอสเกาะตามหินโดยมีดอกไม้ป่า ขึ้นกระจัดกระจาย เช่น ต้นบีโกเนีย กล้วยไม้ป่า ชมพูพูพาน โคลงเคลง เทียนป่า และตาเหินไหว เป็นต้น สวยงามมากข่วงปลายฝนต้นหนาว

หินแยงฟ้า เป็นแท่งหินยื่นโผล่ขึ้นไปบนฟ้าอยู่ปลายสุดของยอดดอยภูลังกา

ป่าก่อโบราณ เป็นสภาพป่าดิบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์พืชสมุนไพรและต้นก่อขนาดใหญ่จำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมพันธุ์พืชดอกไม้ป่ากล้วยไม้ป่า และชมนกได้อย่างสนุกตื่นเต้นโดยเฉพาะช่วยปลายฝนต้นหนาว

ร่องรอยตำนาน ผกค.ในอดีต ดอยภูลังกาในอดีตเป็นฐานที่มั่นของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีสนามเพาะ, หลุมระเบิด และถ้ำหลบภัยหลงเหลือให้ได้ดูชม

ห้องเรียนธรรมชาติ
- ได้จัดให้มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติจำนวน 2 เส้นทาง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
- จัดแสดงสงวนพันธุ์พืชสมุนไพร ไว้ให้ได้ศึกษาหาความรู้
- สวนว่านตามตำราโบราณให้ได้ศึกษาหาชมซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง เดือนมิถุนายน-สิงหาคมเป็นช่วงที่ว่านมีความสวยงาม
- สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีไทย
- สวนพันธุ์ไม้ประจำวันเกิด
- สวนพันธุ์กล้วยไม้ป่าของไทย พันธุ์แท้สลับกันออกดอกตลอดทั้งปี

ห้องเรียนธรรมชาติของวนอุทยานภูลังกา จะเป็นที่ศึกษาหาความรู้ของต้นพันธุ์ไม้ต้นจริงที่ไม่ใช่ในรูปภาพหรือจินตนาการจากข้อเขียนตามหนังสือ อันจะทำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาพันธุ์พืชของจริงได้ดูชม และเกิดความรักต้นไม้รักธรรมชาติ

พันธุ์ไม้ป่าหายาก ตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติในวนอุทยานจะพบความแปลกกับพันธุ์ไม้หากยากที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ต้นชมพูภูพาน เนียมแดง เหมือดคนแดง สัตฤาษี เทียนธารา ตาเหินไหว ผักเผ็ดข้าวก่ำ เป็นต้น

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก วนอุทยานภูลังกามีบ้านพัก, ลานกางเต็นท์, เส้นทางปั่นจักรยาน, เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมนก ชมป่าธรรมชาติ สำหรับที่พักและลานกางเต็นท์ มีจำนวนจำกัด ควรติดต่อกับวนอุทยานภูลังกาล่วงหน้าก่อนตั้งโปรแกรมการเดินทาง
วนอุทยานภูลังกา ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา โทร. 0 1883 0307

สำนักบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 ถ.สิงหไคล ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทร. 0 5371 1402

ข้อจำกัดของวนอุทยานภูลังกา
1. เส้นทางรถยนต์ในเขตวนอุทยานเป็นทางดินแดงขึ้นเขาสูงแคบชั้นโค้งคดเคี้ยว ขึ้นได้เฉพาะกับรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น
2. รถยนต์ธรรมดาสามารถขึ้นได้ถึงห้องเรียนธรรมชาติของวนอุทยานภูลังกาและสามารถเดินป่าตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
3.ในเขตวนอุทยานไม่มีไฟฟ้าควรจัดเตรียมอุปกรณ์ส่องสว่างให้พร้อม
4. ในเขตวนอุทยานห้ามทิ้งขยะนักท่องเที่ยวต้องนำขยะกลับออกไปทิ้งที่บ้าน
5. อาหารและอุปกรณ์พักแรมควรเตรียมไปให้พร้อม
6.วนอุทยานภูลังกาเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง 18.00 น.

การเดินทาง
จากจังหวัดพะเยา เดินทางมาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1021 ผ่านอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน และจนถึงอำเภอเชียงคำ เปลี่ยนเส้นทางไปใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1148 ระยะการเดินทางจากจังหวัดพะเยาถึงวนอุทยานภูลังกาประมาณ 120 กิโลเมตร
จากจังหวัดเชียงราย เดินทางมาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1020 ผ่านอำเภอเทิง มาจนถึงอำเภอเชียงคำ เปลี่ยนเส้นทางไปใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1148 ระยะการเดินทางประมาณ 140 กิโลเมตร

การเดินทางขึ้นไปวนอุทยานภูลังกา จากอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1148 ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร จะถึงเส้นทางแยกเข้าวนอุทยานภูลังกา เดินทางขึ้นเขาอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการสำนักงานวนอุทยานภูลังกา
- ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ควรเป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ถึงจะขึ้นถึงยอดดอยภูลังกาได้สะดวกปลอดภัย
- ผู้ที่ไม่มีรถขับเคลื่อน 4 ล้อ สามารถขึ้นได้โดยจ้างเหมารถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ของชุมชนได้ตรงปากทางขึ้นวนอุทยานภูลังกา


ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า เริ่มดำเนินงานเมื่อ พ.ศ.2530 ในเขตหมู่บ้านปางค่า ต.ผาช้างน้อย เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขิ้นและป้องกันปัญหาการบุกรุกทำลายป่า ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น พื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส ประชากรประกอบด้วยชนเผ่าม้ง และเผ่าเย้า

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า ได้จัดทำแปลงสาธิต เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยชมแปลงสาธิตพืชผัก ไม้ดอก ไม้ผล

ภายในโครงการฯ มีบริการบ้านพัก 3 ห้อง ราคา 800 บาท ติดต่อจองห้องพักได้ที่ แผนกประขาสัมพันธ์ มูลนิธิโครงการหลวง โทร. 0 5381 0765-8 ต่อ 108 ดูข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิโครงการหลวงได้ที่ http://www.doikham.com

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1148 ถนนสายเชียงคำ-น่าน และเลี้ยวซ้ายที่ กม. 90 ตรงไปตามถนน รพช.ประมาณ 5 กิโลเมตร

อำเภอจุน


วัดนันตาราม อยู่ที่บ้านดอนไชย ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อไร เป็นวัดที่มีศิลปะแบบไทยใหญ่ ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบัน ระเบียง เป็นต้น

ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ธนบัตรเก่า เครื่องใช้โบราณ ผ้าลายโบราณ ภาพวาดโบราณเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเทศน์มหาชาติแต่ละตอน เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00 - 18.00 น.


วัดแสนเมืองมา ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ.2351 สร้างโดยชาวเมืองมาง มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมาจนกระทั่งมาตั่งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำนี้

จุดเด่นของวัดอยู่ที่หลังคาวิหารที่ซ้อนลดกันหลายชั้น ไม่นิยมทำหลังคาสูง ตรงหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ซึ่งทำเป็นรูปหงษ์แกะสลัก หรือตัวนาคคาบแก้ว นอกนั้นมีการประดับประดาด้วยไม้แกะสลัก ตกแต่งด้วยสีต่างๆ ดูงดงามตา ส่วนบานประตูทำด้วยไม่แกะสลักทุกบาน ประตูเข้าสู่พระวิหารจะทำเป็นสามมุข มุขแต่ละทิศทำเป็นสัตว์สามอย่างที่เชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองศาสนา ได้แก่ พญานาค เสือ และ สิงห์ และภายในฝาผนังมีจิตรกรรมฝาผนังที่วาดเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทลื้อ และพระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

ที่ตั้ง 113 บ้านมาง หมู่ที่ 4 ต.หย่วน อ.จุน จ.พะเยา โทร. (054) 451-399

อำเภอเชียงม่วน


วัดท่าฟ้าใต้ ตั้งอยู่บนเส้นทางสายปง-เชียงม่วน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2311 โดยครูธรรมเสนาและพ่อเฒ่าแสนอัฐิ ผู้นำชาวไทลื้อซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนา ลักษณะตัวพระอุโบสถเป็นทรงเตี้ยก่ออิฐถือปูน หลังคาสามชั้นมุงด้วยแป้นเกล็ดตามแบบสถาปัตยกรรมไทยลื้อ องค์พระประธานแกะสลักจากไม้ประดู่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 117.5 เซนติเมตร สูง 227.5เซนติเมตร ซึ่งอัญเชิญมาจากสิบสองปันนา ประดิษฐานบนฐานชุกชีทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมศิลปะไทลื้อ ประดับด้วยลายปูนปั้นรูปเครือเถาลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีแท่นธรรมาสน์ ลักษณะคล้ายมณฑปหรือปราสาท ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบชั้นประดับลายปูนปั้นรูปเครือเถาและสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวาง ช้าง ม้า นกยูง ลักษณะเด่นคือลวดลายดอกไม้ที่แพรวพราวไปด้วยกระจกประดับหลายสี

อำเภอเชียงคำ


วัดพระนั่งดิน อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

ณ อุโบสถของวัดเล็กๆ ในอำเภอเชียงคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้ ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'

วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ จึง เรียกขานนามสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน หรือพระเจ้านั่งดิน
ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าขานสืบกันมาว่า ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและได้อันเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประดิษฐาน แต่เกิดเหตุอัศจรรย์ ฟ้าผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครั้ง ชาวบ้านจึงได้อาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิม

มีตำนานกล่าวถึงประวัติพระเจ้านั่งดินไว้ว่า พระยาครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์ จนเสด็จถึงเตเวียงพุทธรสะ(อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ(พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ที่เมืองพุทธรสะนี้ ครั้งเมื่อทรงตรัสจบก็ปรากฎมีพระอินทร์ 1 องค์ พระยานาค 1 ตน ฤษี 2 องค์ และพระอรหันต์ 4 รูป ช่วยกันเนรมิตรูปเหมือนจากดินศักดิ์สิทธิ์ ณ เมืองลังกา ใช้เวลา 1 เดือน กับ 7 วัน จึงแล้วเสร็จ เมื่อพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว ได้เสด็จสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนนั้นมีขนาดเล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริม แล้วพระพุทธเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปเหมือนนั้นให้เลื่อนลงจากฐานชุกชี มากราบไหว้พระองค์ พระพุทธเจ้าตรัสกับรูปเหมือนว่า "ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา" รูปเหมือนน้อมรับ และประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา


ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้าเหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น

อำเภอเมือง


กว๊านพะเยา กว๊าน หมายถึง หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม แหว่งทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย

ต่อมาในปี 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิง และสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร

กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา เป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา

ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก


วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2067

พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย วันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อ.อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ


อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801 - 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด จึงได้พระนามว่างำเมือง


วัดอนาลโยทิพยาราม ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 - 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย

บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์ มีที่พักแบบรีสอร์ทบนวัด


วัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ไม่ไกลจากตัวเมือง มีทางรถยนต์ขี้นไปถึงยอดเขา เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปนมัสการเจดีย์พระธาตุจอมทอง และยังได้ชมทัศนียภาพอันสวยงามของกว๊านพะเยาจากบนยอดเขา


วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่ที่ถนนท่ากว๊าน ในตัวเมือง ภายในวัดมีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา นามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์" ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ" ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งล้านนาไทย


หอวัฒนธรรมนิทัศน์ อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการตกแต่งสวยงามจัดแสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา

เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 40 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท โทร. 0 5441 0058-9


สถานีประมงน้ำจืดพะเยา และพระตำหนักกว๊านพะเยา ตั้งอยู่ถนนพหลโยธินระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด มีพิพิธภัณฑ์ปลาบึก แสดงเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาบึกครั้งแรกของโลก โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ในบ่อดิน ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ยาว 3 เมตร น้ำหนัก 250 กิโลกรัม อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง นอกจากนั้นยังเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูยากไว้หลายชนิด

เปิดให้ชมทุกวันเวลา 8.30 - 16.30 น. นอกจากนั้นยังมีเรือนประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาอยู่ในบริเวณเดียวกัน บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5443 1251


หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตั้งอยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ


ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน กม.ที่ 723 ตำบลแม่กา ห่างจากตัวเมือง 14 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการอบรมอาชีพด้านอุตสาหกรรมสาขาอัญมณีและเครื่องประดับ ให้แก่เยาวชน ราษฎรในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณี ศึกษาดูงานการเจียรไนพลอย ทำเครื่องประดับเงิน จัดแสดงและจำหน่ายอัญมณีเครื่องประดับ และสินค้าหัตถกรรม 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ของดีเมืองพะเยาอีกด้วย